วิสัยทัศน์การพัฒนาของเทศบาลตำบลสันมะค่า กำหนดไว้ว่า
“ตำบลน่าอยู่ มุ่งสู่สุขภาวะ ”
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลสันมะค่านั้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลสันมะค่า ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุก ๆ ด้าน ดังนั้น การพัฒนาเทศบาลตำบลสันมะค่าจะสมบูรณ์ได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักและร่วมกันในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเข้าใจ ในแนวทางของการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างจริงจัง อีกทั้ง เทศบาลตำบลสันมะค่ายังได้เน้น ให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพนั้นจะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่นและส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียง
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ของเทศบาลตำบลสันมะค่า ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เทศบาลตำบลสันมะค่าได้ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าเทศบาลตำบลสันมะค่ามีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคามในการดำเนินการตามภารกิจ ตามหลัก SWOT เทศบาลตำบลสันมะค่าได้กำหนดวิธีการในการดำเนินการตามภารกิจให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 9 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (มาตรา 16) ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การจัดให้มีการสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
2) การจัดทำผังเมืองรวม
3) การจัดให้มีการสาธารณูปการ
4) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
5) การจัดให้มีน้ำสะอาด หรือการประปา
6) การจัดให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่าง
7) การควบคุมอาคาร
8) การจัดให้มีตลาด
9) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การสนับสนุนและการส่งเสริมหัตถกรรมพื้นบ้านและหินอ่อน
2) การปรับปรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน
3) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
4) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
2) การจัดการศึกษา การกีฬา และการนันทนาการ และการศาสนา
3) การจัดให้ประชาชนได้รับการศึกษาอบรม และส่งเสริมพัฒนากระบวนการเรียนรู้
4) การส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล
5) การส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมและประเพณีของท้องถิ่น
6) การส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างความมั่นคงของประชาคมอาเซียน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
3) การคุ้มครองดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4) การจัดให้มีการควบคุมตลาด
5) การจัดปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
6) การจัดให้มีและการควบคุมการฆ่าสัตว์
7) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
8) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
9) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
10) การจัดการบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
11) การส่งเสริม สนับสนุนมาตรการประหยัดพลังงานและการส่งเสริมพลังงานทดแทนจากธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาเกษตรปลอดภัย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การทำการเกษตรปลอดภัย
2) การส่งเสริมและสนับสนุนให้รู้จักดำรงตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3) การส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตในการพัฒนาการผลิตเกษตรปลอดภัย
4) การส่งเสริม และสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเพื่อบริหารจัดการการผลิตเกษตรปลอดภัย
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการสร้างสังคมเข้มแข็งและยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การจัดระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่น
2) ส่งเสริมจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
3) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
4) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรและการบริหารจัดการ มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
3) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
4) การพัฒนาศักยภาพของพนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง
8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและคุณภาพของชีวิตประชาชน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
2) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
4) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
5) การส่งเสริมกีฬา
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
2) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
3) การพัฒนา ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
4) การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้เป็นสากลรองรับ AEC เพื่อการพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
5) การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ เป็นเอกภาพ ครบวงจร และเป็นสากล
6) การพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ให้ทันสมัย เป็นสากล
ยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 9 ด้านนี้ เทศบาลตำบลสันมะค่าจะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชนในเขตพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่เป็นหลัก ประกอบกับการดำเนินการของเทศบาลตำบลสันมะค่าจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนชุมชน นโยบายของรัฐบาล นโยบายของผู้บริหารของเทศบาล และวิสัยทัศน์การพัฒนาของเทศบาลตำบลสันมะค่าเป็นสำคัญ